มีคนบอกว่า "คำว่าแก่พูดเบา ๆ ก็เจ็บ" วันนี้หมอเลยจะมาเฉลยว่าอายุผู้หญิงกับคุณภาพไข่มันเกี่ยวกันยังไง ไหน ๆ ก็จะมาแนว สว. ที่ไม่ใช่สมาชิกวุฒิสภาแล้วก็จะลามไปจนถึงผลของอายุต่อระบบสืบพันธุ์อื่น ๆ แล้วก็ผลของอายุต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกด้วยครับ


หมอเคยสำรวจประชากรที่เดินไปเดินมาบริเวณชุมชนสวนอ้อย หน้า รพ. วชิระว่ามีสักกี่คนที่รู้ว่าภาวะการเจริญพันธุ์มันลดลงนะจ้ะสาว ปรากฎว่ามีคนที่พอจะระแคะระคายว่าอายุมันทำให้เดือดร้อนนะ เพียง 20% เท่านั้นเอง ที่เหลืองง ๆ บางคนคิดว่าผู้หญิงท้องได้ตลอดอายุขัยเลยนะเธอ

อายุการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง

โดยทฤษฎีเราสามารถแบ่งอายุของผู้หญิง (แบบไม่นับตัวเลข) ได้เป็น 4 วัย (โดยบางทีอายุขัยที่เป็นตัวเลขเราก็อาจจะไม่ได้สัมพันธ์กับวัยเหล่านี้ซะทีเดียว ได้แก่

วัยก่อนเจริญพันธุ์

(Prepubertal)

  • ตั้งแต่เกิดจนถึงเริ่มมีประจำเดือน (12-13 ปี)
  • ยังไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศ
  • เซลล์ไข่เริ่มแบ่งแต่หยุดที่ระยะ meiosis I
Woman Lifespan Illustration

วัยเจริญพันธุ์

(Reproductive)

Woman Lifespan Illustration

วัยใกล้หมดระดู

(Perimenopause)

Woman Lifespan Illustration
Woman Lifespan Illustration
Woman Lifespan Illustration
Woman Lifespan Illustration
  • ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนจนประจำเดือนเริ่มไม่สม่ำเสมอ (~20-45 ปี)
  • ระบบฮอร์โมนเพศทำงานเป็นปกติ
  • มีไข่ตกรอบเดือนละ 1 ใบ
  • เซลล์ไข่เริ่มเหลือน้อยลง
  • ประจำเดือนอาจเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ
  • อาจมีอาการวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก นอนไม่หลับ

วัยหมดระดู

(Menopause)

Woman Lifespan Illustration
  • เซลล์ไข่เหลือน้อยมาก
  • ประจำเดือนขาดอย่างน้อย 12 เดือน
  • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวัยทอง

จำนวนและคุณภาพไข่กับอายุ

อายุที่มากขัึ้น

รังไ่่ข่ผู้หญิงอายุน้อย

รังไ่่ข่ผู้หญิงอายุมาก

เริ่มเข้าวัยสาว

จำนวนและคุณภาพไข่ลดลงตามอายุ

วัยทอง

จำนวนไข่ในผู้หญิงจะสูงสุดตอนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขณะที่เราอยู่ในท้องแม่ (ประมาณ 2 ล้านฟอง)​ หลังจากนั้นจำนวนไข่ก็จะลดลงเรื่อย ๆ

จำนวนไข่ในผู้หญิงจะสูงสุดตอนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขณะที่เราอยู่ในท้องแม่ (ประมาณ 2 ล้านฟอง)​ หลังจากนั้นจำนวนไข่ก็จะลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเราจะเหลือเซลล์ไข่ประมาณ 2-4 แสนฟอง หลังเริ่มมีประจำเดือน จะมีไข่ที่ถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาทำงานตลอดเวลาและจำนวนหลายฟอง แต่ในแต่ละรอบเดือนจะเหลือเพียง 1 ใบที่จะสุกและตกเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิและตั้งครรภ์ต่อไป

Little Girl Silhouette
Woman Silhouette
the elderly people silhouette

จำนวนไข่

อายุ

ไข่ที่ยังอยู่ในระยะที่ยังไม่ได้ถูกกระตุ้นขี้นมาทำงาน แต่ไข่เหล่านี้เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ (meiosis) เพื่อลดจำนวนชุดโครโมโซมลง (ปกติสิ่งมีชีวิตจะมีโครโมโซม 2 ชุด ได้มาจากพ่อ 1 ชุด จากแม่ 1ชุด ทีนี้เราจะส่งต่อให้รุ่นต่อไปก็ต้องลดจำนวนโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ของเราลง 1 ชุดนั่นเอง) โดยเซลล์ไข่จะหยุดอยู่ในระยะ prophase I จนมีการตกไข่จึงกลับมาแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ต่อโดยจะเสร็จสิ้นเมื่อมีการปฏิสนธิแล้ว

ก่อนไ่ข่ตก เริ่มเข้าสู่ระยะแบ่งเซลล์ต่อ

แบ่งเซลล์เสร็จสมบูรณ์หลังปฏิสนธิ

ไ่ข่หยุดการแบ่งเซลล์

ไข่ตก

ถือว่าเป็นไข่สุกเมื่อพบ 1st polar body

ซึ่งบ่งบอกว่าไข่เสร็จสิ้นการแบ่งเซลล์ระยะ meiosis I

นอกจากจำนวนไข่ที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้นแล้ว เมื่ออายุมากขึ้นก็ทำให้ไข่สัมผัสกับสารพิษจากส่ิงแวดล้อม พันธุกรรม อนุมูลอิสระต่าง ๆ ทำให้โครโมโซมเสียหาย มีการทำงานที่ผิดปกติของ mitochondria (เปรียบเสมือนโรงงานสร้างพลังงานของเซลล์ไ่ข่) และยิ่งทำให้เซลล์ไข่ทนต่ออนุมูลอิสระได้น้อยลง ผลทั้งหมดทำให้ไข่มีโครโมโซมผิดปกติ รวมทั้งการแบ่งตัวของตัวอ่อนผิดปกติเนื่องจากการสร้างพลังงานที่ใช้ในการแบ่งตัวไม่ค่อยดี ทำให้โอกาสที่โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติเพิ่มขึ้น อัตราการตั้งครรภ์ลดลงและอัตราการแท้งเพิ่มขีั้นในคนที่อายุมากขึ้นนั่นเอง

สัดส่วนตัวอ่อนที่โครโมโซมผิดปกติเพิ่มขึ้นตามอายุ

อัตราการตั้งครรภ์ที่ลดลงและ

อัตราการแท้งที่เพิ่มขึ้น

มดลูกกับอายุ

นอกจากรังไข่ที่เปลี่ยนแปลงจากอายุแล้ว อวัยวะสืบพันธุ์สตรีอื่น ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงจากอายุเช่นกัน ดังแสดงในรูปภาพด้านล่าง

กล ามเน อมดล กลดลงและประจำเด อนค อย ๆ ห างออกจนหย ดในท ส ด

มดลูก

ท่อนำไข่

ส นลง เซลล เย อบ ค อย ๆ หายไป เซลล ท ม ล กษณะคล ายน วม อในท อนำไข ตาย

ช่องคลอด

รังไข่

จำนวนถ งไข ลดลง ระด บฮอร โมนเอสโตรเจนค อย ๆ ลดลง
ความย ดหย นลดลง ช องคลอดส นลง เย อบ บางลงและน ำหล อล นแห ง ทำให ม ความเส ยงต อการฉ กขาด เล อดออกและต ดเช อ

โดยเฉพาะที่มดลูก การเปลี่ยนแปลงจากอายุก็มีผลทำให้ตั้งครรภ์ยากขีี้นและแท้งมากขึ้นเช่นกัน ดังแสดงในรูปภาพด้านล่างนี้

  • กล้ามเนื้อน้อยลงและบีบตัวไม่ประสานงานกัน - อาจทำให้เบ่งคลอดเองยาก
  • การนำสารสื่อประสาทเพื่อช่วยให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกมีความผิดปกติ ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลง โอกาสแท้งเพิ่ม่ขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ
  • ผนังมดลูกมีการทำงานที่ไม่ปกติ ทำให้การรับตัวอ่อนผิดปกติ
  • มีการอักเสบเรื้อรังในโพรงมดลูกมากขั้น

‘การเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์ (รวมทั้งรังไข่) จากอายุนี้โดยเฉลี่ยจะเริ่มประมาณอายุ 32 ปี และเริ่มเห็นผลชัดเจนหลังจากอายุ 37 ปี โดยพบว่าหล้ังอายุ 45 ปีแล้วโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้นั้นน้อยมาก’

ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ กับอายุสตรี

ผู้หญิงพออายุเริ่มกำลังจะถึง ‘หลักสี่’ (แต่ยังไม่ถึงดอนเมือง รังสิตนะ ก่อนห้าแยกลาดพร้าวพอ) เมื่อจำนวนไข่ลดลงไปมากและระดับฮอร์โมนเริ่มเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุสขภาพด้านอื่น ๆ ไปด้วย โดยหมอจะเล่าให้ฟังเป็นข้อ ๆ ต่อไปนี้นะจ้ะ

  • การเผาผลาญลดลง ทำให้น้ำหนักตัวขี้นได้ง่ายมาก ๆ โดยเฉลี่ยพบว่าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นปีละ 0.5 กิโลแม้ว่าจะกินเท่าเดิม
  • ไขมันในร่ายกายมีการกระจายตัวไม่เหมือนเดิม โดยพบว่าไขมันจะไปสะสมในช่องท้องมากขึ้น ทำให้อ้วนลงพุง (abdominal obesity)
  • เกิดภาวะร่างกายดื้อต่อฮอรืโมนอินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ไขมันและคอเลสเตอรอลผิดปกติ ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
  • ระยะยาวก็จะมีกระดูกบางลงไปจนถึงกระดูกพรุนได้ ซึ่งโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ทำให้ส่วนสูงลดลง หลังค่อม อาจเกิดกระดูกหักแม้จะเป็นอุบัติเหตุหรือการกระแทกที่ไม่รุนแรงได้
  • พอฮอร์โมนลดประมาณหนึ่งก็อาจมีอาการวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก นอนไม่หลับ ผิวแห้ง ช่องคลอดแห้ง ฯลฯ ได้ ซึ่งถ้าอาการรุนแรงจนรบกวนชีวิตประจำวัน อารมณ์หงุดงหงิด ซึ่งควรได้รับการรักษานะจ้ะ เดี๋ยวคนไม่กล้าเข้าใกล้
Abstract Geometric Symbol

อาการทางกายที่พบบ่อยในวัยทอง

Common

physical

symptoms

hot flashes / heart palpitations / difficulty sleeping / migraines /

body pains

Abstract Geometric Symbol

อาการทางจิตใจที่พบบ่อยในวัยทอง

mood swings / anxiety / low mood / low self-esteem / brain fog

Common

mental

symptoms

ป้องกัน แก้ไข รักษา

แม้ว่าเราไม่อาจหยุดอายุไม่ให้เพิ่มขึ้นทุกวันได้ แต่ก็มีแนวทางที่อาจจะป้องกัน แก้ไข รักษา อะไรบางอย่างได้ครับ

  • โรค/ภาวะบางอย่างทำให้ไข่ถูกกระตุ้นและทำลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ไข่หมดก่อนวัยอันควรและเข้าวัยทองไวได้ เช่น Turner syndrome, Fragile X premutation, การได้รับเคมีบำบัด การผ่าตัดที่รังไข่ การได้รับรังสีรักษาบริิเวณอุ้งเชิงกราน เป็นต้น ผู้ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้อาจพิจารณาการรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ (fertility preservation) ไม่ว่าจะเป็นการแช่แข็งเซลล์ไข่ แช่แข็งตัวอ่อน (กรณีีแต่งงานแล้ว) หรือการแช่แข็งเนื้อเยื่อรังไข่ (ovarian tissue cryopreservation)
  • นอกจากนี้ กรณีที่ยังไม่มีแผนการมีลูก แต่คิดว่าในอนาคตจะมี การพิจารณาแช่แข็งเซลล์ไข่ก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อการมีลูกในอนาคต
  • ใช้ชีวิต healthy หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ใช้สารเสพย์ติด
  • การใช้อาหารเสริม การรักษาต่าง ๆ ไม่มีอะไรเอาชนะอายุคุณได้ หมอบอกเลย
  • ส่วนใครที่ไข่เหลือน้อยแล้ว พยายามด้วยไข่ตัวเองมาหลายหน หาไข่บริจาคก็เป็นทางเลือกนึงที่ทำให้เราถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นนะครับ อาจต้องก้าวข้ามความคาใจว่าเด็กไม่ได้มีพันธุกรรมเกียวข้องกับเรา แต่คุณก็เป็นคนเลี้ยงเค้าในครรภ์ เป็นคนคลอด คุณเป็นแม่ตามกฎหมายทุกประการ
  • สุดท้ายอย่าลืมดูแลสุขภาพอื่น ๆ ให้รอบด้วยครับ ช่วงวัยกำลังเปลี่ยนผ่าน ปัญหาสุขภาพถ้าไม่ดูแลดี ๆ เดี๋ยวไม่สบายจะได้อยู่กับลูกไม่นานเน่อ


ขอให้ทุกคนโชคดี มีลูกไว ๆ จ้า

เอกสารอ้างอิง

  • Na Nakhon S, Limvorapitux P, Vichinsartvichai P. Knowledge regarding factors that influence fertility in Thai reproductive-age population living in urban area: A cross-sectional study. Clin Exp Reprod Med. 2018 Mar;45(1):38-43. doi: 10.5653/cerm.2018.45.1.38.
  • Owen A, Carlson K, Sparzak PB. Age-Related Fertility Decline. [Updated 2024 Feb 2]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK576440/
  • APARNA NATHAN, PHD. Reproductive aging leads to many women’s health problems. Available from: https://www.drugdiscoverynews.com/reproductive-aging-leads-to-many-women-s-health-problems-15922.
  • Female age-related fertility decline. Fertility and Sterility, Volume 101, Issue 3, 633 - 634.
  • Knight J, Nigam Y (2017) Anatomy and physiology of ageing 8: the reproductive system. Nursing Times [online]; 113: 9, 44-47.
  • Ambikairajah, A., Walsh, E. & Cherbuin, N. A review of menopause nomenclature. Reprod Health 19, 29 (2022). https://doi.org/10.1186/s12978-022-01336-7 .

LIFE

คลินิกมีบุตรง่าย

by Dr. Pat

ไลฟ์บายดอกเตอร์พัฒน์คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสูตินรีเวช

ห้อง 114/2 ชั้น 1 อาคาร B, GPF Witthayu Towers, ถ.วิทยุ, แขวงลุมพินี, เขตปทุมวัน, กรุงเทพฯ 10330

Room 114/2, 1st floor, Tower B, GPF Witthayu Towers, Wireless Rd, Lumpini, Pathumwan, Bangkok 10330 THAILAND

Tel: +6696-940-0159, +6664-585-9747

Email: info@lifebydrpat.com

Line ID: @lifebydrpat

Facebook Logo
Blue Instagram Logo Vector
shape icon
Youtube Official Icon
Glitch Paly Music Video

Life by Dr. Pat © 2024. All Rights Reserved