Blue Plaid Pattern

รู้ทันหมอ IVF:

ด้วยการประเมิน KPI ของการรักษา

นพ.พัฒน์ศมา วิจินศาสตร์วิจัย

วว.สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, วว. เวชศาสตรการเจริญพันธุ์

MClinEmbryol, EFOG-EBCOG. EFRM-ESHRE/EBCOG

Keywords: IVF; ICSI; มีลูกยาก; อยากมีลูก; กระตุ้นไข่; KPI; competency; benchmark; กระตุ้นไข่

หมอคิดว่าคนไข้ที่เคยทำเด็กหลอดแก้วหลายคนต้องเคยสับสน หรือสงสัยว่าไอ้รอบที่เรากระต้นไข่ เก็บไข่ไปแล้วเนี่ยเราทำได้ดีแค่ไหน ไข่ตั้งต้นเราน้อยไปไหม ยากระตุ้นตัวนี้โอเคกับเราหรือยัง หมอเก็บไข่เป็นยังไง แลปที่คลินิกของเราโอเคไหม ฯลฯ ใช่ไหมครับ

วันนี้หมอจะมาแนะนำวิธีการเชคด้วยตัวเองกันครับ ก่อนอื่นไปค้นเอาผลของรอบที่เคยกระตุ้นมาก่อนเลย มีข้อมูลอะไรเท่าที่มีอยู่เอาออกมาให้หมด แล้วเดี๋ยวหมอจะบอกด้วยว่าเราควรรู้หรือควรถามหรือบันทึกข้อมูลอะไรบ้าง

โดยทั่่วไปผลการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้วนั้นขึ้นอยู่กับ 3 ส่วนที่สำคัญพอ ๆ กัน ดังแสดงในรูปภาพที่ 1

Pink sphere 3D
Happy Couple Silhouette

คุณภาพของไข่และอสุจิของคนไข้

ซึ่งก็เป็นผลจากอายุและการใช้ชีวิต

3D Ball Icon
Stethoscope Icon

สูตรยาที่หมอเลือกใช้ สำหรับกระตุ้นไข่

ทั้่งชนิดยา ขนาดยา จำนวนวันที่ใช้

Orange 3d ball
IVF icon

คุณภาพของแลปและความเอาใจใส่ของนักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน

รูปภาพที่ 1 แสดงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการรักษามีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว

มีข้อมูลอะไรที่ต้องรู้บ้าง

จากรูปภาพที่ 2 แสดงจุดสังเกตเก็บข้อมูลเพื่อจะไปคำนวณตัวชี้วัด (Key Performance Index; KPI) เพื่อประเมินคุณภาพการรักษาของเราต่อไป

ไข่ตั้งต้น

(antral follicle)

ถุงไข่พร้อมตก

Female Ovary Illustration
Female Ovary Illustration

ปฏิสนธิปกติ

(2PN)

OPU

ไข่สุก

รังไข่ (ovary)

ไข่อ่อน

ปฏิสนธิผิดปกติ

(1PN, 3PN)

MENSES

DAY 0

DAY 1

blastocyst illustration
blastocyst illustration

Blastocyst

DAY 5

รูปภาพที่ 2 แสดงรอบการกระตุ้นไข่และตัวอ่อนแบบคร่าว ๆ ตัั้งแต่ระยะไข่ตั้งต้น ถุงไข่พร้อมเก็บ เมื่อเก็บมาก็จะได้ทั้งไข่สุก (mature eggs; MII eggs) และไข่อ่อน (MI และ GV) ต่อมาเมื่อปฏิสนธิจะพบตัวอ่อนที่ปฏิสนธิปกติ (2PN) และปฏิสนธิผิดปกติ (1PN, 3PN), และระยะ blastocyst เมื่อ day 5 จะเห็นว่าจำนวนจะลดลงเรื่อย ๆ

ข้อมูลที่ควรทราบ ได้แก่

  • จำนวนไข่ตั้งต้น (antral follicle count; AFC) ได้จากอัลตราซาวดน์ทางช่องคลอดก่อนเริ่มกระตุ้นไข่
  • จำนวนถุงไข่ที่มีขนาดอย่างน้อย 12 มม. ณ วันที่ตัดสินให้เก็บไข่
  • จำนวนไข่ที่เก็บได้ (COC) ณ วันเก็บไข่ (Day 0)
  • จำนวนไข่สุกที่เก็บได้ (MII) ณ วันเก็บไข่ (Day 0)
  • จำนวนตัวอ่อนที่ปฏิสนธิปกติ (2PN) วันรุ่งขึ้นหลังจากเก็บไ่ข่ (Day 1)
  • จำนวนตัวอ่อนที่พัฒนาถึงระยะ blastocyst (Day 5-6)
  • จำนวนตัวอ่อนที่ส่งตรวจโครโมโซม (Day 5-6)
  • จำนวนตัวอ่อนที่โครโมโซมปกติ (Day 5-6)

ไปคำนวณ KPI ได้ที่ พจนี้ครับ หมอเขียนโปรแกรมเอาไว้เรียบร้อย ใส่จำนวนข้างบนกด calculate ได้ KPI ออกมาเลยพร้อมตัวเลข benchmark ในวงเล็บ เริ่ด!

ส่วนกรอกข้อมูล

ส่วนแสดงผลประเมินตัวชี้วัด

มาดู KPI กัน

มาดูตัวชี้วัดกันทีละตัวครับ แต่ละตัวบอกอะไรตรงไหนบ้าง

Dark Blue Gradient Button, Gradient Banner

%ถุงไข่ที่ตอบสนองต่อการกระตุ้น

เกณฑ 80

=

จำนวนถุงไข่ที่มีขนาดอย่างน้อย 12 มม. ณ วันที่ตัดสินให้เก็บไข่

x100

จำนวนไข่ตั้งต้น (AFC)

AFC

ถุงไ่ข่ขนาดอย่างน้อย 12 มม.

Example Icon
Paper sticky tape
Paper Texture

คนไข้กระตุ้นไข่มาตรวจติดตามพบว่ามีถุงไข่ใบหนึ่งโตมากกว่าใบอื่น ๆ มาก เช่น 16 มม ส่วนใบอื่นขนาด 8-9 มม.​ โดยมักพบว่าเมื่อเก็บไข่ออกมาแล้วคุณภาพไข่มักจะไม่ดี

กรณีนี้เกิดจากวันที่เร่ิมฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ช้าเกินไป ถุงไข่รอบนั้นถูกเลือกใบที่จะตก (dominant follicle) ไปแล้ว ทำให้ใบอื่นไม่โต มักพบในคนไข้ที่รอบเดือนสั้นกว่า 28 วัน

ตัวชี้วัดนี้บ่งบอกอะไร?

วันที่เริ่มกระตุ้นไข่เหมาะสม


ขนาดและชนิดของฮอร์โมน

กระตุ้นไข่เหมาะสม


ถุงไข่มีตัวรับฮอร์โมนเพียงพอ

Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Blue Rectangle Button Illustration

%ไข่ที่เก็บได้

=

จำนวนไข่ที่เก็บได้

x100

จำนวนถุงไข่ที่มีขนาดอย่างน้อย 12 มม. ณ วันที่ตัดสินให้เก็บไข่

เกณฑ 80
Example Icon

OPU

Paper sticky tape
Paper Texture

คนไข้กระตุ้นไข่ พบว่าก่อนกระตุ้นนนไข่ตกมีีจำนวนถุงไข่ขนาดใหญ่ 18 ใบ ได้รับการกระตุ้นให้ไ่ช่ตกด้วย GnRH agonist วันเก็บไข่ปรากฎว่าวันเก็บไข่ เก็บได้ไข่เพียง 5 ใบ เป็นไข่สุก 3 ใบ

กรณีข้างต้นนี้สาเหตุอาจเกิดมาจากการที่คนไช้ไม่มีการหลั่งฮอร์โมน LH เพิ่มชี้นหลังจากได้ GnRH agonist ทำให้ไม่มีกระบวนการ final maturation ของไข่ ทำให้ไข่ไม่ตกและเก็บได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น (พบคนที่ได้รับยา GnRH agonist แล้วไ่ม่มีการหลั่ง LH เพิ่มได่้ประมาณร้อยละ 10-15 ครับ)

ตัวชี้วัดนี้บ่งบอกอะไร?

ความเหมาะสมของจำนวนวัน

กระตุ้นไข่

ความเหมาะสมของชนิดของ

ฮอร์โมนกระตุ้นไข่ตก

ความเหมาะสมของระยะเวลา

หลังจากกระตุ้นไข่ตก จนเก็บไข่

คนไข้ฉีดยากระตุ้นไข่ตกถูก

ต้อง?

Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button

จำนวนไข่สุก (MII)

=

จำนวนไข่ที่เก็บได้

x100

3D button. Empty button. 3D illustration.

%ไข่สุก

Example Icon
Paper sticky tape
Paper Texture

ตอนกระตุ้นมีไข่โตขึ้นจำนวนมาก ตอนเก็บไข่ก็ได้จำนวนไข่มาก แต่่ปรากฎว่าไข่ที่เก็บได้เป็นไข่อ่อนมาก ซึ่งมีการเจริญเป็นตัวอ่อนที่ไม่ค่อยดี

สาเหตุเกิดได้จากคนไข้ฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตกผิดเวลา ได้รับฮอร์โมนกระตุ้นไข่สั้นหรือยาวนานเกินไป ชนิดหรือขนาดยากระตุ้นการตกไข่ไม่เพียงพอ นอกจากนี้ถุงไข่ในคนไข้บางรายไข่อาจสุกช้ากว่าคนทั่วไป ดังนั้นหากเก็บไข่ที่ 34-36 ชั่วโมงหลังฉีดยากระตุ้นไข่ตกจะได้ใฃ่อ่อนเยอะ ต้องเก็บไข่ให้ช้าลง บางรายอาจจะไปสุกที่ 40 ชั่วโษงหลังกระตุ้นให้ไข่ตก

เกณฑ 80

ไข่สุก

ไข่อ่อน

ตัวชี้วัดนี้บ่งบอกอะไร?

  • ความเหมาะสมของชนิดของฮอร์โมนกระตุ้นไข่ตก
  • ความเหมาะสมของระยะเวลาหลังจากกระตุ้นไข่ตกจนเก็บไข่
  • คนไข้ฉีดยากระตุ้นไข่ตกถูกต้อง?
  • ระยะเวลากระตุ้นไ่ข่นานเหมาะสม
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Blue button

%ปฏิสนธิปกติ

=

ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิปกติ (2PN)

x100

จำนวนไข่สุก (MII)

เกณฑ 70

การปฏิสนธิของไข่สามารถตรวจสอบได้จากการเห็น pronuclear ซึ่งเป็นส่วนที่มีโครโมโซมที่ได้มาจากไข่ 1 ชุด และจากอสุจิ 1 ชุดคือมี 2 pronuclear (2PN) ส่วนไข่ที่ปฏิสนธิผิดปกติ อาจจะไม่พบ PN, มี 1PN หรือ 3PN โดยเฉพาะ 3PN หมายถึงการที่มีโครโมโซมจำนวนเกินมาเท่ากับโครโมโซม 1 ชุดหรือมีโครโมโซมทั้งหมด 3 ชุดนั่นเอง

ไข่สุก

ICSI

ปฏิสนธิปกติ

(2PN)

ตัวชี้วัดนี้บ่งบอกอะไร?

  • คุณภาพเซลล์ไข่ (โครโมโซมปกติหรือไม่)
  • คุณภาพอสุจิ (โครโมโซมและความสามารถในการปฏิสนธิ)
  • ฝีมือนักวิทย์ที่ทำ ICSI (ต้องทำ ICSI รวดเร็ว แม่นยำ ไข่ไ่ม่เสียหาย)
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Example Icon
Paper sticky tape
Paper Texture

ความผิดปกติอาจเป็นไปได้ทั้ังไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นเลย (total fertilization failure) การที่มี 1PN หรือ 3PN

จำนวน blastocyst day 5 + day 6

ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิปกติ (2PN)

x100

ปฏิสนธิปกติ

(2PN)

blastocyst illustration
blastocyst illustration

Blastocyst

Example Icon
Paper sticky tape
Paper Texture

การพัฒนาถึง blastocyst ได้ ตัวอ่อนต้องมีการทำงานของยีนเพื่อสร้างสารอาหารและพลังงาน

มีคนไข้ 10-15% ที่เลี้ยงตัวอ่อนยังไงก็ไปไม่ถึง blastocyst

Blue Glossy Label Button

%ตัวอ่อนไปถึง blastocyst

เกณฑ 60

ตัวชี้วัดนี้บ่งบอกอะไร?

  • สภาวะแวดล้อมในห้องแลป (อากาศสะอาด, ออกซิเจนต่ำฯลฯ)
  • ฝีมือนักวิทย์
  • คุณภาพสูตรฮอร์โมนกระตุ้นโดยรวม
  • คุณภาพไข่
  • การทำงานที่ปกติของยีนของตัวอ่อน
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Realistic Right 3D Button
Blue Neon Button

%ิblastocyst โครโมโซมปกติ

เกณฑ 50

จำนวนตัวอ่อน euploid

=

จำนวนตัวอ่อนที่ตรวจ

x100

Blastocyst

blastocyst illustration
blastocyst illustration
blastocyst illustration

Euploid blastocyst

Example Icon
Paper sticky tape
Paper Texture

ผู้หญิงอายุมากขึ้นเซลล์ไข่ก็จะมีสัดส่วนผิดปกติมากขึ้น


เทคโนโลยีการตัดเซลล์ตัวอ่อนไปตรวจและเทคโนโลยีการตรวจโครโมโซมก็มีส่วนทำให้ผลผิดปกติ

ตัวชี้วัดนี้บ่งบอกอะไร?

  • คุณภาพไข่และอสุจิ อายุผู้หญิง
  • การดูแลเซลล์ไข่และอสุจิตั้งแต่ตอนเก็บไข่
  • การดูแลตัวอ่อนในห้องแลป
  • เทคนิคการตัดเซลล์ตัวอ่อนไปตรวจ
Blue Plaid Pattern

เกณฑ์ที่ใช้เป็น benchmark นี่หมอไม่ได้คิดขั้นมาเองนะครับ มันมีมาตรฐาน KPI เกณฑ์เหล่านี้อยู่ที่เป็นเกณฑ์สากล เช่น The Vienna consensus: report of an expert meeting on the development of ART laboratory performance indicators 2017 เป็นต้น

ใครคำนวณของตัวเองแล้วเป็นยังไงบ้าง มาให้หมอช่วยดูก็ได้นะครับ จะได้เข้าใจและแก้ปัญหาได้ตรงจุดในรอบต่อ ๆ ไป อุ้มลูกไว ๆ สมใจไปเลย

เอกสารอ้างอิง

ESHRE Special Interest Group of Embryology and Alpha Scientists in Reproductive Medicine. Electronic address: coticchio.biogenesi@grupposandonato.it. The Vienna consensus: report of an expert meeting on the development of ART laboratory performance indicators. Reprod Biomed Online. 2017 Nov;35(5):494-510. doi: 10.1016/j.rbmo.2017.06.015. Epub 2017 Aug 4. PMID: 28784335.